ยุคสมัยของศิลปะไทยสามารถแบ่งออกเป็นยุคต่างๆ ได้ดังนี้
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ไทย ได้แก่
- แบบทวาราวดี (พ.ศ.500 – 1200)
- แบบศรีวิชัย (พ.ศ.1200 – 1700)
- แบบลพบุรี (พ.ศ.1700 – 1800)
แบบทวาราวดี (พ.ศ.500 – 1200)
งานศิลป์ในยุคนี้จะมาจากฝีมือของชาวอินเดีย ซึ่งได้อพยพมายังสุวรรณภูมิ มีจุดศูนย์กลางอยู่ ณ นครปฐม จัดเป็นศิลปะแบบอุดมคติ โดยรุ่นแรกเป็นฝีมือของชาวอินเดีย แต่ต่อมาในยุคหลังๆ ก็เปลี่ยนเป็นฝีมือของชาวพื้นเมือง ซึ่งมีการสอดแทรกอุดมคติในเรื่องของความงามรวมทั้งลักษณะทางเชื้อชาติอันเป็นเอกลักษณ์ใส่เข้าไปด้วย
งานศิลป์ชิ้นสำคัญ คือ
- ประติมากรรม
พระพุทธรูปแบบทวาราวดี เป็นพระพุทธรูปแบบนั่งห้อยพระบาทและยกพระหัตถ์ขึ้น
- สถาปัตกรรม
เจดีย์นครปฐมองค์เดิม
แบบศรีวิชัย (พ.ศ.1200 – 1700)
เป็นศิลปะแบบอินเดีย – ชวา ศูนย์กลางอยู่ที่ไชยา ประกอบด้วยอาณาเขตของศรีวิชัย , เกาะสุมาตรตรา เดิมทีศรีวิชัยเป็นพวกที่อพยพมาจากอินเดียตอนใต้ ซึ่งเข้ามาพร้อมกับพระพุทธศาสนา
งานศิลป์ชิ้นสำคัญ คือ
- ประติมากรรม
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรแบบสัมฤทธิ์ไชยา
- สถาปัตยกรรม
สถูปพระบรมธาตุไชยา , สถูปวัดมหาธาตุ เป็นต้น
แบบลพบุรี (พ.ศ.1700 – 1800)
เป็นงานศิลปะอันมีความคล้ายคลึงกับของขอม ศูนย์กลางอยู่ ณ เมืองลพบุรี โดยมีศาสนาพราหมณ์เข้ามามีส่วนร่วมตามความเชื่อ และสร้างเทวาสถานขนาดใหญ่โตแข็งแรง เช่น ปราสาทหินพนมรุ้ง , นครวัด
งานศิลป์ชิ้นสำคัญ คือ
- ประติมากรรม
พระพุทธรูปสมัยลพบุรีจะเปลือยองค์ท่อนบน พระพักตร์เกือบมีทรงสีเหลี่ยม ลวดลายงามวิจิตร
- สถาปัตยกรรม
สร้างเป็นเทวสถาน มีการใช้วัสดุแข็งแรงทนทาน เช่น ศิลาแลง , หินทราย มีศิลปะชิ้นสำคัญ ได้แก่ ปรางค์ลพบุรี
ยุคประวัติศาสตร์ไทย ได้แก่
- แบบเชียงแสน (พ.ศ.1600 – 2089)
- แบบสุโขทัย (พ.ศ. 1800 – 1981)
- แบบอยุธยา (พ.ศ.1893 – 1310)
- แบบรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325 – ปัจจุบัน)
แบบเชียงแสน (พ.ศ.1600 – 2089)
มีความเชื่อในเรื่องพุทธศาสนาตามแบบลัทธิหินยานอย่างพุกาม ซึ่งพระเจ้านิรุทธมหาราชทรงนำมาเผยแพร่ไว้ โดยเป็นศิลปะเชียงแสนรุ่นแรกของไทย ที่ได้รับอิทธิพลจากพุกาม มีการใช้ อิฐ , ปูน , โลหะ เป็นส่วนประกอบ รุ่งเรืองมากถึงที่สุดคือ ในสมัยพระเจ้าติโลกราช เรียกได้ว่า”ยุคทอง”เลยทีเดียว
งานศิลป์ชิ้นสำคัญ คือ
- ประติมากรรม
พระพุทธสิหิงค์ ซึ่งหล่อด้วยโลหะ
- สถาปัตยกรรม
- ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะแขนงต่างๆมากมาย เช่น
- อิทธิพลพุกาม ได้แก่ สถูปวัดพระยืน จังหวัดลำพูน
- อิทธิพลลานนาเดิม ได้แก่ วัดกู่กุฏิ จังหวัดลำพูน
- แบบเชียงแสนแท้ ได้แก่ โบสถ์และหอไตรวัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น
แบบสุโขทัย (พ.ศ.1800 – 1981)
ศิลปะสมัยสุโขทัยเต็มไปด้วยความผสมผสาน อีกทั้งยังจัดว่าฝีมือของศิลปินไทยในยุคนี้ มีมากที่สุดในประวัติศาสตร์ มีแบบอย่างเป็นของตนเองสูงสุด เป็นศิลปะแบบสุโขทัยแท้ จัดเป็นศิลปกรรมชั้นเลิศ
งานศิลป์ชิ้นสำคัญ คือ
- จิตกรรม
ซุ้มประตูวัดมหาธาตุ สุโขทัย
- ประติมากรรม
พระพุทธรูป สมัยสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปปางลีลาอ่อนช้อย เน้นความเป็นธรรมชาติ ให้ความรู้สึกอ่อนโยน ได้แก่ พระพุทธชินราช พิษณุโลก เป็นต้น
แบบอยุธยา (พ.ศ.1893 – 1310)
มีอายุยาวนานถึง 417 ปี ความเชื่อในเรื่องของศาสนาในอาณาจักรนี้มีศาสนาพุทธลัทธิหินยาน , ลัทธิลังกาวงค์ , ศาสนาพราหมณ์ของขอม และศาสนาคริสต์ ยุคนี้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากมาย ส่งผลทำให้ได้รับอิทธิพลจำนวนมาก
งานศิลป์ชิ้นสำคัญ คือ
- จิตกรรม
ได้รับอิทธิพลมาจากจีนและยุโรป ได้รับการติดต่อทางการค้าขาย ศิลปะภาพเขียนหนักไปทางประดิษฐ์ ใช้ทองปิดเป็นบางแห่ง
- ประติมากรรม
พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง มีการสร้างขึ้นอย่างแพร่หลายมาก มีจุดเด่นคือ พระพักตร์ยาว สร้างจากหินทรายหล่อสัมฤทธิ์
แบบรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325 – ปัจจุบัน)
หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาไป ศิลปะแขนงต่างๆก็เริ่มเสื่อมสลายลง ศิลปินฝีมือดี ถูกกวาดต้อนไปเป็นจำนวนมาก ทำให้ศิลปกรรมมีการปรับปรุงขึ้นครั้ง หลังจากสถาปนา สามารถแบ่งงานศิลป์ได้ตามรัชกาลต่างๆ ได้ดังนี้
- รัชกาลที่ 1-2 ยึดถือตามแบบอย่างอยุธยา
- รัชกาลที่ 2 ศิลปกรรมแบบจีนเข้ามามีบทบาทมาก
- รัชกาลที่ 4-5 เป็นยุคของศิลปกรรมตะวันตก
รัชกาลที่ 6 ศิลปกรรมกลับมามีลักษณะเดิมอีกครั้ง โดยรัชกาลที่ 6ทรงพยายาม แก้ไขความหลงผิดทางด้านศิลปะของไทย มีการปรับปรุงศิลปะดั้งเดิมของไทยขึ้นมาใหม่อีกครั้ง
ขอบคุณผู้สนับสนุนที่ดีจาก เว็บแทงบอล ผู้ให้บริการเดิมพันครบวงจรที่ทันสมัยที่สุดในตอนนี้ การเงินมั่นคง ได้เงินจริงแน่นอน ถือเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่ที่มีการบริการที่ดีเยี่ยมด้วยทีมงานมือถือมากประสบการณ์ที่ได้รับการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดี ช่วยให้ผู้เล่นนั้นเดิมพันได้อย่างสบายไร้กังวล แถมเพิ่มความคุ้มค่าในการเดิมพันกับโปรโมชั่นสุดพิเศษที่แจกหนักจัดเต็มแบบไม่มีอั้น มีเกมให้เลือกเล่นทุกรูปแบบ คิดจะแทงบอลกับเว็บที่มีคุณภาพต้องที่นี้ที่เดียว