ประวัติศิลปะไทยสมัยก่อน

ศิลปะไทย เป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ประจำชาติไทย ที่บ่งบอกถึงความเป็นไทย คนไทยทุกคนมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งกับความงดงามที่สืบทอดมาอย่างยาวนานตั้งแต่ครั้งอดีต เป็นเครื่องที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรม อันมีพัฒนาการบนพื้นฐานของความเป็นไทย ที่เต็มไปด้วยความอ่อนหวาน ละมุนละไม อ่อนช้อย ทำให้ศิลปะไทยมีความงามอย่างวิจิตรอลังการ

เมื่อเราได้ทำการค้นคว้าความเป็นมาของสังคมไทย จะพบว่าคนไทยมีวิถีชีวิตเรียบง่าย โดยมีประเพณีกับศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ อีกทั้งยังเป็นสังคมเกษตรกรรม ด้วยเหตุนี้ความผูกพันส่วนใหญ่จึงอยู่ที่ธรรมชาติ , แม่น้ำและพื้นดิน จนกลายมาเป็นความเชื่อและประเพณีในท้องถิ่น พร้อมถ่ายทอดออกมาเป็นวัฒนธรรมไทยอย่างงดงาม

ความเป็นมาของศิลปะไทย

ประเทศไทย เป็นชาติที่มีศิลปะและวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเองมาอย่างช้านานแล้ว เริ่มตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ พ.ศ. 300 – พ.ศ. 1800 พระพุทธศาสนาถูกนำเข้ามาในประเทศของเราโดยชาวอินเดีย จึงแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลต่อรูปแบบของศิลปะไทยในทุกๆด้าน โดยกระจายออกเป็นกลุ่มศิลปะสมัยต่างๆ ยุคแรก คือ สมัยทวาราวดี , ศรีวิชัย , ลพบุรี ต่อมาเมื่อคนไทยรวมตัวกันเป็นปึกแผ่นแล้ว ศิลปะเหล่านี้ก็ได้มีการตกทอดจนกลายมาเป็นศิลปะไทย

ลักษณะของศิลปะไทย

ศิลปะของไทย ได้รับอิทธิพลจากธรรมชาติ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่พบเจอในชีวิตประจำวัน โดยมีจุดเด่น คือ ความเป็นอยู่การดำรงชีวิตของคนไทย ซึ่งได้สอดแทรกไว้ในงานศิลป์ โดยเฉพาะศิลปะที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาประจำชาติไทย ศิลปะไทยสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมพุทธศาสนา เพื่อเป็นการเกี่ยวโยงพร้อมโน้มน้าวจิตใจให้เกิดความเลื่อมใส

ภาพไทย หรือ จิตรกรรมไทย เล่าเรื่องจากความคิดจินตนาการของคนไทย โดยมีรูปแบบตามอุดมคติ ได้แก่

  • เขียนสีแบน ไม่มีแสง – เงา ตัดเส้นให้เห็นอย่างชัดเจน เส้นที่ใช้ต้องให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวอย่างนุ่มนวล
  • เขียนตัวพระ-นาง ที่มีลีลาท่าทางเหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงสีร่างกายและเครื่องประดับ
  • เขียนแบบตานกมอง เป็นมุมมองจากที่สูงลงล่าง
  • เขียนติดต่อกันเป็นตอนๆ คือ ดูได้จากซ้ายไปขวาหรือล่างบนได้ทั่วทั้งภาพ
  • ตกแต่งด้วยลวดลายไทย เช่น ใส่สีทองเพื่อเพิ่มความเด่น ทำให้เกิดบรรยากาศสุขสว่างมากยิ่งขึ้น

ภาพลายไทย นำเอาธรรมชาติมาเป็นแรงบันดาลใจ แล้วนำมาดัดแปลงให้เกิดเป็นลวดลายสวยงาม เช่น ตาอ้อย , ก้ามปู , ดอกบัว เป็นต้น ลายไทยเดิม เรียกว่า “ลายกระหนก” หมายถึงลวดลายอันวิจิตร เช่น กระหนกลาย , กระหนกก้านขด เป็นต้น แต่ต่อมาได้มีการคำใช้ว่า “กนก” ในความหมายแปลว่า ทอง เช่น กนกปิดทอง , กนกตู้ลายทอง เป็นต้น แต่กรณีนี้มีใช้เมื่อใดยังไม่มีหลักฐานปรากฏอย่างแน่ชัด การเขียนลายไทย ได้มีการจัดแบ่งตามลักษณะใหญ่ๆ 4 ลาย ด้วยกัน คือ ลายกระหนก , ลายนารี , ลายกระบี่