การเปลี่ยนแปลงของจิตรกรรมไทยร่วมสมัย

การเจริญเติบโตของจิตรกรรมไทยร่วมสมัย มีการพัฒนาควบคู่ไปพร้อมกับความเจริญของสังคมมนุษย์ ตลอดจนวิวัฒนาการในด้านต่างๆ ซึ่งอยู่รอบตัวมนุษย์ ทุกสรรพสิ่งบนโลกนี้ไม่เคยหยุดเปลี่ยนแปลง ถ้าไม่ก้าวไปข้างหน้า ก็ถอยหลัง เพราะฉะนั้นถ้าวัฒนธรรมในสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามครรลองของธรรมชาติ เพราะฉะนั้นงานจิตรกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ย่อมได้รับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นเดียวกัน

จิตรกรรมไทยร่วมสมัย งานศิลปะที่เจริญเติบโตควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลง

โดยการแสดงออกทางด้านงานจิตรกรรมร่วมสมัยในประเทศไทย ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องนี้ ได้รับอิทธิพลจากงานศิลปะ ในระดับสากล หากแต่ก็ถึงกระนั้นก็ยังแอบแฝงไปด้วยความคิดที่เป็นอิสระ ปราศจากความผูกพันที่มีต่อสิ่งใด อันแสดงให้เห็นถึงแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะไทย ทำให้จิตรกรได้แสดงความคิดของตนเองมาในทางสร้างสรรค์ ภายใต้แนวใหม่ ก่อให้เกิดเทคนิควิธีการในการสร้างสรรค์ที่เหมาะสม ต่อแนวคิดของแต่ละบุคคล หากแต่อย่างไรก็ตามในบางกรณี งานจิตรกรรมร่วมสมัยได้นำแนวทางความคิดทางด้านจิตรกรรมไทยแบบประเพณีโบราณ ซึ่งเป็นงานศิลปะอันเก่าแก่ของประเทศ มาปรับเปลี่ยนพร้อมสร้างสรรค์ในแนวทางใหม่ๆ

อย่างไรก็ตามการศึกษาศิลปะ เป็นการศึกษาที่ดำเนินไปพร้อมกับความเจริญ ตลอดจนวิวัฒนาการของจิตรกรรมไทยร่วมสมัย โดยงานจิตรกรรมร่วมสมัย ไม่ได้มีแนวทางตามแบบช่างเขียนซึ่งเป็นจิตกรไทยในสมัยโบราณ หรือแบบเดียวกันกับงานจิตรกรรมไทยในรูปแบบประเพณี เช่น ช่างนนทบุรี, ช่างเพชรบุรี เป็นต้น โดยงานเหล่านี้มีการสร้างสรรค์งานตามแนวคิดของช่างระดับครู หากแต่ทางด้านจิตรกรรมไทยร่วมสมัย ได้สร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของตนเอง ด้วยเหตุนี้การศึกษางานศิลปะประเภทนี้ จะมีการดำเนินงานที่เป็นไปตามลักษณะสากล นอกจากนี้การวิเคราะห์งาน ก็เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นเช่นเดียวกัน

news-site-Contemporary-Thai-painting

สถาบันสอนศิลปะในประเทศไทย ถือกำเนิดในสมัยรัชกาลที่ 6

สำหรับการจัดตั้งสถาบันสอนศิลปะในประเทศไทย เริ่มต้นในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นต้นมา สถาบันแห่งแรก คือ ‘โรงเรียนเพาะช่าง’ ซึ่งตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2456 เพื่อดำเนินการจัดการพร้อมทั้งให้การศึกษา ทางด้านวิชาการศิลปะในหลากหลายสาขา รวมทั้งตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรมขึ้นมา ในปี พ.ศ.2476 หากแต่ต่อมาก็ได้เปลี่ยนเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเป็นสถาบันที่เราต่างรู้จักกันเป็นอย่างดี ในปี พ.ศ.2486 ซึ่งมีศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ครูชาวอิตาลี ท่านทรงเป็นผู้วางรากฐานระบบการศึกษาในประเทศไทย ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับวิชาช่าง, จิตรกรรม และประติมากรรม ในรูปแบบของงานศิลปะสากล รวมทั้งศิลปะประเพณีไทย โดยมีจุดประสงค์อันแรงกล้าในการผลิตศิลปินรวมทั้งผู้ทำงานศิลปะอย่างแท้จริง

news-Contemporary-Thai-painting-site

ณ ปัจจุบันนี้ผลงานด้านจิตรกรรม ได้รับความนิยมจากสาธารณชน

มีการจัดแสดงออกไปอย่างแพร่หลายทำให้ประชาชนเข้าถึงผลงานในแนวนี้มากยิ่งขึ้น สำหรับการวิเคราะห์วิวัฒนาการของจิตรกรรมร่วมสมัยของไทยจากระยะเวลา โดยเริ่มในสมัยรัชกาลที่ 6 ช่วงปี พ.ศ.2477 เป็นต้นมาจวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน พบว่ามีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับจิตรกรรมร่วมสมัยของประเทศอื่นๆ มีความเป็นอิสระ ลักษณะในการสร้างสรรค์ผลงานไม่จำกัดกรรมวิธี รวมทั้งไม่ปิดกั้นเทคนิค สามารถนำเทคนิคอื่นๆเข้ามาผสมผสาน ได้ด้วย นอกจากนี้ศิลปินในแต่ละบุคคลล้วนมีวิวัฒนาการในการสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบของตนเอง

สำหรับการพัฒนางานจิตรกรรมร่วมสมัย มาจากหลายแนวทาง ไม่ว่าจะเป็น การแลกเปลี่ยนความรู้, การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ รวมทั้งการวิจารณ์งาน ซึ่งเป็นองค์ประกอบในการพัฒนาการสร้างสรรค์ผลงานของแต่ละบุคคล  ต่อมาเมื่อสร้างสรรค์ผลงานออกมาแล้ว ก็จำเป็นต้องมีการจัดแสดงผลงานต่อสาธารณชน เพราะฉะนั้น สถานที่แสดงงาน อย่างหอศิลป์ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อวิวัฒนาการ เนื่องเป็นโอกาสที่จะทำให้ได้เห็นถึงผลงานอย่างใกล้ชิด รวมทั้งเห็นถึงแนวคิดต่างๆ ที่นำมาเปรียบเทียบกัน โดยจัดเป็นการกระตุ้น ให้ศิลปินสร้างสรรค์ผลงานออกมาเรื่อยๆ และมีความตั้งใจในการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ให้เกิดคุณค่ากว่าเดิม